วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาหารเพื่อนบ้านอาเซียน

อาหารยอดนิยมของเพื่อนบ้านอาเซียน

เริ่มจาก อาหารยอมนิยมของ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม มีชื่อเรียกว่า อัมบูยัต มีอาหารที่มีลักษณะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ ใช้แป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาที่มีชื่อเรียกและรูปแบบเฉพาะของประเทศ นำมาม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสเปรี้ยวรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ ซึ่งมีส่วนผสมหลักในการทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น โดยเคล็ดลับในการทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานตอนร้อนๆ และกลืนโดยไม่ต้องเคี้ยว ใครที่มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศบรูไนอย่าลืมลิ้มลองรสชาติ ต่อกันด้วยอาหารยอดฮิตของ ประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกว่า อาม็อก มีลักษณะ คล้ายห่อหมกของไทย นิยมใช้เนื้อปลาปรุงด้วยน้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ ทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง อาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนได้ แต่ที่นิยมใช้เนื้อปลาเพราะหาได้ง่าย ทำให้ทั้งรูปร่างหน้าตาและรสชาติคล้ายห่อหมกเป็นอย่างมาก

อีกหนึ่งชาติในอาเซียนที่นักท่องเที่ยวสนใจเรื่องอาหารก็คือ ประเทศอินโดนิเซีย ซึ่งอาหารยอดฮิตของประเทศนี้ชื่อว่า กาโด กาโด เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เพราะส่วนประกอบจะเน้นไปที่ผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว ฯลฯ เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม คล้ายคลึงกลับสลัดผักแต่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เพราะต้องทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งรสชาติใกล้เคียงกับสลัดแขก ที่มีอยู่ประเทศไทย สำหรับอาหารยอดฮิตของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งก็คือ ซุปไก่ เป็น แกง ที่มีรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อม มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง เพิ่มสีสันให้รสชาติด้วยรสชาติเปรี้ยว เผ็ด แซ่บถึงใจ จากมะนาวและพริก นำมารับประทานตอนที่ยังร้อนๆ กับข้าวเหนียว นับเป็นเมนูยอดฮิตที่ได้ลองแล้วต้องติดใจ เพราะนอกจากรสชาติที่จัดจ้านแล้ว ยังเป็นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนอีกด้วย

อาหารยอดฮิตของ ประเทศสิงคโปร์ ต้องยกให้ ลักซา เป็น ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ที่ใส่กะทิ ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง ซึ่งที่สิงคโปร์ลักชามีหลายประเภททั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ เหมาะกับคนที่ชอบทานอาหารปรเภทเส้น ประเทศเวียดนาม เมนูยอดฮิตที่ทุกคนรู้จักคือ เฝอ ก๋วยเตี๋ยวของชาวเวียดนามที่พัฒนามาจาการทำก๋วยเตี๋ยวของจีน เฝอมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวของไทย แต่ต่างกันที่เส้น น้ำซุป และเครื่องเคียง ทำให้มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ดึงดูดนักชิม ปิดท้ายด้วยอาหารยอดนิยมของ ประเทศมาเลเซีย มีชื่อว่า นาซิ เลอมัก เป็นข้าวหุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ สมัยก่อนเป็นอาหารที่มักทานในตอนเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศสิงคโปร์

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศสิงคโปร์

มีแหล่งท่องเที่ยวภายในเอเชียหลายๆ แหล่งที่มีความน่าสนใจ สิ่งที่เป็นสีสันไม่เคยหลับใหลจะอยู่ในเมืองที่มีความคึกคัก บ่อยครั้งที่เราได้เห็ฯและได้สัมผัสกับประสบการณ์ การวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวในสิงคโปร์ อาจจะดูเหมือนว่าในเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เห็นจะต้องกล่าวถึง แต่สิ่งที่เราได้วางแผนเกี่ยวกับเดินทางท่องเที่ยวสามารถช่วยให้คุณได้กำหนด ช่วงเวลาในการพักผ่อนได้ดีกว่า เรามีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่คุณไม่ควรพลาดมานำเสนอดังนี้

singapore-zoo
Singapore Zoo
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับรางวัล โดยจัดสวนสัตว์ตามแนวคิด ‘open concept’ และยังคงรูปแบบเดิมๆ ไว้ในบางส่วน, the Singapore Zoo เป็นสถานที่ที่สามารถเรียนรู้ชีวิตสัตว์โลกได้เหมือนอยู่ตามธรรมชาติ หรือ สามารถส่องสัตว์ในช่วงเวลากลางคืนแบบ Night Safari
sentosa
Sentosa
อะไรที่อยู่บนเกาะเมืองที่มีแต่รีสอร์ทหรู? ถ้าท่านกำลังมองหาแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวในช่วงชั่วโมงเร่ง ด้วยจากเมือง ซึ่ง Sentosa อาจจะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่คุณสนใจ เกาะที่มีแต่รีสอร์ทสวย บาร์ตามชายหาด, รูปแบบของกีฬาให้เลือกเล่นที่หลากหลาย และสนามกอล์ฟ และไปเติมเต็มความสุขและความตื่นตาตื่นใจจาก the Universal Studios theme park และ the Resorts Worlds Sentosa casino.
resort-world-sentosa
Resorts World Sentosa
Resorts World Sentosa ได้เตรียมความสนุกสนานมากมายให้ทุกครอบครัวได้มาสัมผัสปอดแนวใหม่ของ สิงคโปร์ มีพื้นที่สำหรับการเล่นพนัน 15,000 sq m โดยมีมื้ออาหารค่ำให้เลือกมากมายระหว่างการเล่น, ร้านค้าหรู, สปาและโรงแรมที่มีภาพลักษณ์ที่น่าจดจำอีก 6 แห่ง และอาจจะจบทริปที่ Universal Studios Singapore ก็ได้
marinebay-full
Marina Bay Sands
เป็นศูนย์รวมความบันเทิงแห่งใหม่ในเอเซีย, Marina Bay Sands เปิดรับนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา เป็นศูนย์รวมของอาหารค่ำแสนอร่อย, ความบันเทิง, สิ่งอำนวยความสะดวก, และมีสินค้าให้เลือกช้อปปิ้งมากมาย ได้ลิ้มรสกับสุดยอดอาหารจากฝีมือเชฟระดับโลก ณ ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงในแถบนี้ ขอให้ท่านสนุกกับการช้อปปิ้งจากแบรนด์ดังนานาชาติ สินค้าชั้นนำมากมาย และสามารถพักผ่อนเพื่อเข้ามาเล่นเกมส์เสี่ยงโชคมากมายด้วย
singapore_flyer-full
Singapore Flyer
สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ล่าสุดของสิงคโปร์, the Singapore Flyer ได้กลายเป็นจุดเด่นของประเทศนี้ทันทีที่ได้เข้ามาท่องเที่ยว เป็นชิงช้าขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ทุกมุม และมีขนาดใหญ่ติดอันดับโลกเลยทีเดียวซึ่งมีมุมมองแบบเสี่ยงตายกับ the city skyline. ถ้ามาในช่วงพระอาทิตย์ตกดินก็จะได้มุมมองที่โรแมนติกไปอีกแบบหนึ่ง
singapore-chinatown-full
Chinatown
ย่านหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในสิงคโปร์, Chinatown ยังคงเป็นประวัติศาสตร์ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ของชาวจีนในประเทศนี้อยู่ จากส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างความเก่าแก่และความหรูหราทันสมัย เป็นจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด การเยี่ยมชมมรดกของ the Chinatown Heritage Centre เป็นวิธีที่ดีที่เราได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชาวจีนในสิงคโปร์ได้มากยิ่ง ขึ้น ถือได้ว่าเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในสิงคโปร์
little-india-full
Little India
หากคุณกำลังมองหาถึงประสบการณ์แปลกใหม่, Little India เป็นคำตอบหนึ่งที่ดีสำหรับการท่องเที่ยว เนื่องด้วยสถานที่ที่อยู่ที่ได้ค้นพบรากเหง้าของชาวเอเชียใต้จากประวัติ ศาสตร์สิงคโปร์ เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความหลงไหลใน an array of colourful saris, นกแก้วทำนายอนาคต, โบสถ์ฮินดูเก่าแก่, ธูปฉุนและเครื่องเทศ, and the latest Bollywood tunes amid ได้เป็นสิ่งที่ประดับให้เห็นในร้านโดยทั่วไปในย่านนี้
orchard-full
Orchard Road
คนที่รักในการช้องปิ้งต้องไม่พลาด Orchard Road, เป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของสิงคโปร์ เป็นแห่งช้องปิ้งที่มีอยู่ตลอดแนวของถนน โดยมีแบรนด์ดังๆ ต่างๆ มากมายเข้ามานำเสนอให้กับลูกค้าในทุกๆ ระดับ หรือ เป็นการเน้นในกลุ่มลูกค้าโดยรวมกัน ผู้ที่ได้มาเยือน Orchard Road เรียกว่าเดินช้อปปิ้งกันให้หมดแรงกันไปข้างหนึ่งเลยทีเดียว ส่วนเรื่องของสินค้ารับรองได้ว่าเห็นหรือถูกใจสามารถเลือกซื้อได้จากย่านนี้ ได้ทันที
singapore-bonotic-garden-full
Singapore Botanic Gardens
มีสิ่งมีชีวิตอยู่มากกว่า 3,000 สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของต้นไม้เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนซึ่งเป็น หัวใจหรือปอดของเมืองใหญ่ที่มีแต่ความวุ่นวายเหล่านี้ ไม่น่าแปลกใจที่จะมี นักวิ่ง, คนรำไทเก็ก และผู้ที่เข้ามานั่งเล่น และปิกนิกกันในสวนแห่งนี้ในช่วงวันหยุด ซึ่งเป็นการพักผ่อนที่ดี เพื่อหนีจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ คุณสามารถใช้เวลาที่เหลือเพื่อเข้าชมสวนกล้วยไม้จากสวนดอกไม้แห่งชาติ สิงคโปร์ ณ the National Orchard Gardens
singapore_museum-full
National Museum of Singapore
เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งหนึ่งของโลก ซึ่ง the National Museum of Singapore จะใช้ระบบ one-stop guide เพื่อบอกกล่าวถึงประวัติของประเทศสิงคโปร์และพื้นหลังทางวัฒนธรรม
clarke-full
Clarke Quay
เป็นย่านธุรกิจการค้าที่รุ่งเรืองมากๆ มีคลังสินค้าขนาดใหญ่เพื่อเก็บสินค้าพิเศษต่างๆ และโหลดลงเรือขนาดเล็กและ plied the Singapore River, Clarke Quay เป็นสถานที่หนึ่งที่น่าไปเที่ยวชม เพื่อให้ทราบถึงบรรยาการการขนถ่ายสินค้าในปัจจุบันเป็นอย่างไร พื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเวลากลางคืนด้วย เช่น มีไนค์คลับ, บาร์ และร้านอาหารเพื่อเพิ่มบรรยากาศความคึกครื้นให้กับย่านนี้ตลอดทั้งปี

asean

   ประวัติอาเซียน

    อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนความแตกต่างทาง เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และมีนโยบายแข่งขันในการผลิต การส่งออก การตลาด การหาแหล่งทุนและเทคโนโลยี ทำให้การเจริญเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างช้า ๆ ปฏิญญาอาเซียนหรือปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิญญาในการก่อตั้งอาเซียน ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน ดังนี้ เร่งรัดความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัย ความร่วมมือระหว่างกันส่งเสริม พื้นฐานและเสถียรภาพ ในภูมิภาค โดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัติ สหประชาชาติส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม วิจัย ในด้านการศึกษา วิชาชีพ เทคนิค และการบริหารร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายการค้า การศึกษา ปัญหาการค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่งและคมนาคม และการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศและ ภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น

          ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากการก่อตั้ง อาเซียนให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับ ความคิด เห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จ เป็นรูป ธรรมมากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวาง รากฐาน ความ สำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) และสนธิสัญญาไมตรีและ ความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ซึ่งขยาย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ อาเซียนไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านโภคภัณฑ์พื้นฐานโดยเฉพาะอาหารและพลังงาน การจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระยะยาว การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน และการ แก้ไขปัญหาโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ และประเด็นเศรษฐกิจโลกอื่น ๆ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย

          ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอา เซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532

          จนกระทั่งปี2533องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาเริ่มปรากฏ ให้เห็นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนไดตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียนก่อน การจัดตั้งอาฟตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การรวมตัวเกิด จากการ คุกคาม ความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็น ภูมิภาคเดียวกันแต่ละประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออก และเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนัก เลขาธิการอาเซียน มีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน

          อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอา เซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]

          ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งอาฟตาขึ้นในขณะนั้น มีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 อาเซียนจึงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกมีประชากรรวมกัน กว่า 500 ล้านคน

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของอาเซียน

          เพียงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังจากการจัดตั้งอาฟตาในปี 2536 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการขยายตัวทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในเชิงลึก เช่น ปี 2537 – เร่งรัดการจัดตั้งอาฟตาจาก 15 ปี เป็น 10 ปี นำสินค้าซึ่งเดิมยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาลดภาษี ขยายขอบเขตสินค้าที่ต้องลดภาษีให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ขยายขอบเขตความร่วมมืออาเซียนไปสู่ด้านการขนส่งและสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2538 - เร่งรัดอาฟตาโดยขยายรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2543 และให้มีรายการ ที่ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้มากที่สุด และให้เริ่มเปิดการเจรจาเพื่อเปิดเสรีบริการ ให้พิจารณาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และให้มีโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2542 – ประกาศให้อาฟตาเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยจะลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 และ 2558 สำหรับสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ ตามลำดับ

          การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว


วิวัฒนาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนจนถึงแผนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

          อาเซียนมีการเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับความคิดเห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป รวมทั้งทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวางรากฐานความสำเร็จในอนาคต

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมแล้ว อาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาโดยตลอด โดยมีวิวัฒนาการที่สำคัญ ดังนี้
ปี พ.ศ./คศ.
วิวัฒนาการและการดำเนินการ
2535 (1992)
การพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าโดยการเร่งลดภาษีสินค้าและยกเลิกมาตรการ ที่ไม่ใช่ภาษีภายในอาเซียน
2538 (1995)
ริเริ่มความร่วมมือด้านการค้าบริการของอาเซียน โดยจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service: AFAS) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเป็นผู้ให้บริการในภูมิภาค
2538 (1995)
การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียน
2540 (1997)
กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) เป้าหมายในด้านเศรษฐกิจของอาเซียน คือ สร้างอาเซียนให้เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการและการลงทุน รวมทั้งเงินทุนอย่างเสรี
2541 (1998)
จัดทำแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action: HPA) เพื่อเป็นแผนปฏิบัติการให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ระยะเวลา 6 ปี (2543 - 2547)
2543 (2000)
ประกาศความคิดริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ของอาเซียนในการปรับตัวรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ของอาเซียนได้ตามกำ หนดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
2544 (2001)
จัดทำแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN: RIA) ประกอบด้วยแนวทางขั้นตอน และกรอบเวลา ในการดำเนินการให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียน รวมทั้งให้ศึกษาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
(ASEAN Competitiveness Study) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและเร่งรัดการรวมกลุ่มของอาเซียน
2545 (2002)
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้แน่ชัดเพื่อนำ ไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community: AEC)
2546 (2003)
ผู้นำอาเซียนประกาศแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี ค.ศ. 2000

2547 (2004)
ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอา เซียน และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารรายฉบับ รวม 11 ฉบับ ซึ่งมี Roadmap เพื่อการรวมกลุ่มสาขาสำคัญเป็นภาคผนวก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำร่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน 11 สาขาสำคัญก่อน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ อิเลคทรอนิกส์ สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การบิน และต่อมาได้เพิ่มสาขาที่ 12 คือสาขาโลจิสติกส์
2548 (2005)
เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนพิจารณาทบทวน ปรับปรุงแผนงานการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนในระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและรวมข้อเสนอของภาคเอกชน
2549 (2006)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนและพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญ (ฉบับแก้ไข)
2550 (2007)
- ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 และเพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2020
- ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทสำหรับกฎบัตรอาเซียน เพื่อสร้างนิติฐานะให้อาเซียนและปรับปรุงกลไก/กระบวนการดำเนินงานภายในอา เซียน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน